Thursday, February 18, 2016

ช่างทองของไทย




        ในอดีต การสวมใส่เครื่องประดับต่าง ๆ มีเพียงพระมหากษัตริย์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่สามารถสวมใส่ได้เท่านั้น ตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยกฎหมายตราสามดวงของไทย เพราะเครื่องประดับแต่ละชิ้น บ่งบอกถึงฐานะศักดิ์และลาภยศ ทำให้เครื่องประดับทองเป็นของชั้นสูง เนื่องจากตามตำนานที่สืบทอดกันมาเครื่องประดับทองเกิดจากความเชื่อในการบูชาและเคารพนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะการสวมใส่เครื่องประดับทองช่วยส่งเสริมให้มียศถาบรรดาศักดิ์ และมีพลังอำนาจบารมี แต่ถ้าไม่เคารพเครื่องประดับหรือสวมใส่อย่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้เสื่อมลาภยศอำนาจได้ จึงเห็นได้ว่าในอดีตชาวบ้านไม่มีโอกาสสวมใส่เครื่องประดับดังกล่าวเลย กระทั่งวันเวลาผ่านไปการปกครองเปิดกว้างมากขึ้น ผู้คนสามารถซื้อหาเครื่องประดับทองมาสวมใส่ได้
        ช่างทองหลวงประจำสำนักพระราชวัง กล่าวต่อว่า ฝีมือของช่างทองไทยเป็นการสืบทอดมาจากต้นตระกูลสู่ลูกหลานไม่สามารถเอาไปให้ใครได้ เนื่องจากมีการสาปแช่งไว้ จึงไม่มีเครื่องทองที่ไหนในโลกทำได้สวย ประณีต ละเอียด เท่าประเทศไทย ปัจจุบันข้าราชการตำแหน่งช่างทองหลวงในประเทศไทยมีอยู่เพียง 20 คนเท่านั้น แต่ยังมีช่างทำทองที่อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ซึ่งมีทั้งหมด 6 สกุล ได้แก่
ช่างทองศรีสัชนาลัย (จ.สุโขทัย)
ช่างทองเพชรบุรี
ช่างทองอยุธยา
ช่างทองถมนคร (จ.นครศรีธรรมราช)
ช่างทองล้านนา (จ.เชียงใหม่)
และช่างทองสุรินทร์


         โดยที่ ช่างทองหลวง ถือว่าเป็นแหล่งรวบรวมเอกลักษณ์ของช่างทองทั้ง 6 สกุลไว้ แต่โดดเด่นด้วยความประณีตละเอียดอ่อนกว่าช่างทองทุกสกุล ทั้งนี้ช่างทองแต่ละสกุลก็มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นแบบฉบับของตัวเอง อาทิ การขึ้นโครงขดลวดทองของช่างเพชรบุรี งานเก็บรายละเอียดของช่างทองอยุธยา การลงยาแบบฉบับศรีสัชนาลัย การถมยาถมเงินเอกลักษณ์ภาคใต้ของช่างทองถมนคร
การสลักดุนฝีมือช่างทองล้านนา และความงดงามแบบศิลปะขอมงานของช่างทองสุรินทร์
แต่ในปัจจุบันช่างทำทอง สืบทอดศิลปะไทยเหลือน้อยลง จึงจำเป็นต้องให้มีการสานต่องานหัตถศิลป์นี้อย่างเร่งด่วน
        ส่วนสาเหตุที่ทำให้งานเครื่องประดับทองได้รับความสนใจทั้งจากช่างและผู้คนน้อยลง อ.นิพนธ์ บอกว่า เป็นเพราะการทำเครื่องประดับทองเป็นงานที่ต้องทำด้วยใจรัก และมีความสุขกับการได้รังสรรค์ชิ้นงานที่ละเอียดอ่อนจริงๆ เป็นงานฝีมือที่มีคอสท์ค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งช่างน้อยคนจะมีใจรักในการทำเครื่องประดับทอง ขณะที่ผู้ซื้อก็เห็นว่าเป็นงานที่ราคาสูง และยังมองว่าดูเชยโบราณ จึงทำให้งานศิลปะด้านนี้ค่อยๆ เสื่อมถอยไปเรื่อยๆ

ที่มา : http://swhappinessss.blogspot.com/2011/09/blog-post_12.html





Tuesday, February 16, 2016

อัญมณีของไทย

มณีนพเก้า อัญมณีสิริมงคล 9 ชนิดตามหลักโบราณ


        ในสมัยโบราณนั้นให้ความเชื่อถือกันมาว่า ถ้าผู้ใดมีอัญมณีทั้ง 9 ชนิดนี้ไว้ครบทั้งหมดก็จะเป็นสิริมงคลอย่างสูงสุด อัญมณีทั้ง 9 ชนิดที่ว่านี้ประดับไปด้วย เพชร และพลอยสำคัญอีก 8 ชนิด คือ ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ (ไพลิน) มุกดาหาร เพทาย และไพฑูรย์ ตามความเชื่อโบราณราชประเพณีกล่าวไว้ว่า อัญมณีหรือเพชรพลอยทั้ง 9 ชนิดที่เรียกว่า นพเก้า หรือ นพรัตน์ นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ของดาวนพเคราะห์ ซึ่งถือว่าเป็นของสูง เป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ ใครมีไว้ก็ล้วนแต่เจริญรุ่งเรืองและเลิศด้วยความดีงามทั้งปวง และถ้าให้ความหมายตามสิริมงคลของอัญมณีทั้ง 9 ชนิดแล้ว จะได้ความหมายดังต่อไปนี้

        1. เพชร สิริมงคลคือ เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ มีชัยแก่ศัตรู ร่ำรวย

        2. มณี (ทับทิม) สิริมงคลคือ ความสำเร็จ ลาภยศ อายุยืน


        3. มรกต สิริมงคลคือ ความศรัทธา กล้าหาญ ป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง


        4. บุษราคัม สิริมงคลคือ มีเสน่ห์เป็นที่รัก


        5. โกเมน สิริมงคลคือ สุขภาพดี อายุยืนนาน


        6. นิลกาฬ (ไพลิน) สิริมงคลคือ ความรัก ความเมตตากรุณา ความร่ำรวย


        7. มุกดาหาร สิริมงคลคือ ความบริสุทธิ์ ร่มเย็น และชนะแก่ศัตรู


        8. เพทาย สิริมงคลคือ ความร่ำรวย ชนะคดีความ


        9. ไพฑูรย์ (ตาแมว) สิริมงคลคือ เทวดาคุ้มครอง ป้องกันฟืนไฟ


        ในเรื่องของอัญมณีอันเป็นสิริมงคลทั้ง 9 ชนิดนี้ คนไทยโดยทั่วไปนิยมเลื่อมใสนับถือเป็นของ
มีค่าสูงและเป็นสิริมงคล นำมาใช้ประโยชน์ทั้งในด้านศาสนา และในสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ทำเป็นพระพุทธรูปต่างๆ ตลอดจนใช้ประดับเครื่องทรงและที่ประทับ ใช้เป็นเครื่องประดับแสดงถึงตำแหน่งและเกียรติยศ เครื่องราชูปโภคในพระราชพิธีสำคัญ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ของที่เป็นบำเหน็จรางวัล เครื่องประดับต่างๆ ของพระราชวงศ์ ขุนนาง และข้าราชการชั้นสูง (ในเรื่องของการนำอัญมณีนพเก้าไปประดับและนำไปใช้ในราชสำนัก
ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ให้ความสำคัญอย่างเป็นทางการ และยกย่องให้นพรัตนเป็นรัตนมงคลโบราณแห่งแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ บัญญัติว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประดับสำหรับยศแห่งพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้สร้างดวงตรามหานพรัตน สำหรับห้อยสายสะพายขึ้นเป็นครั้งแรกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย)
         นอกจากนั้นแล้ว ประชาชนโดยทั่วไปทุกระดับชั้นก็สามารถหามาใช้ได้ตามกำลังฐานะ นอกจากเพื่อความสวยงาม และความเป็นสิริมงคลต่างๆ อีกทั้งยังใช้เป็นหลักทรัพย์ที่ถือเป็นมรดกสืบทอดแก่ทายาทในวงศ์ตระกูล เป็นของกำนัลตอบแทนผู้มีน้ำใจช่วยเหลือยามที่เคยตกยากอีกด้วย

ในตำราพรหมชาติซึ่งเป็นตำราโหร กล่าวไว้ว่า นพรัตน์เป็นสิ่งมงคล หากจะใช้ควรเลือกให้เหมาะกับบุคคลมิฉะนั้นจะเกิดโทษ ดังนั้นแล้ววิธีการเลือกสวมใส่มีหลักดังนี้

       

      ปีชวดและปีระกา     ควรประดับ โกเมน
      ปีฉลูและปีมะแม      ควรประดับ มุกดา
      ปีขาล                    ควรประดับ เพทาย
      ปีเถาะ                    ควรประดับ ไพฑูรย์และมรกต 
      ปีมะโรงและปีกุน     ควรประดับ ไพฑูรย์
      ปีมะเส็ง                 ควรประดับ เพชร
      ปีมะเมีย                 ควรประดับ นิล  
      ปีวอก                    ควรประดับ บุษราคัม
      ปีจอ                      ควรประดับ มรกต

      ทั้งหมดนี้ทุกท่านจะได้รู้จักกับอัญมณีทั้ง 9 ชนิด ที่โบราณเรียกกล่าวกันเรื่อยมาว่า มณีนพเก้า หรือ มณีนพรัตน์ อันเป็นอัญมณีที่สวมใส่หรือมีไว้ครอบครองเพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อรู้ถึงความสำคัญของอัญมณีทั้งเก้าแล้ว ท่านรู้หรือไม่คะว่า แท้จริงแล้วนั้น วิธีการจัดเรียงอัญมณีทั้ง 9 ชนิดนี้ที่ถูกต้อง ควรต้องเรียงลำดับตามตำแหน่งยันต์นพเคราะห์ หรือ นพรัตนธรรมจักรเก้ารัตนพิสุทธิ์ ตามหลักการจัดวางดังนี้ ทับทิมเพื่อพระอาทิตย์ จะอยู่ที่ศูนย์กลางเสมอ และล้อมรอบ (ตามเข็มนาฬิกา) บนสุดคือ เพชร,ไข่มุกแท้ธรรมชาติ,ปะการังแดง,โกเมนเอก,ไพลิน,ตาแมว,บุษราคัม,และ มรกต โดยถือให้พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของการไหลเวียนพลังงานในระบบสุริยจักรวาลนั่นเอง





ขอขอบคุณข้อมูลสนับสนุนจาก th.wikipedia, “คอลัมน์ รู้ไปโม้ด” ผู้เขียน : น้าชาติ ประชาชื่น